Botanical Database

ชื่อ : Indonesian Clove   / อินโดนิเซียน โคลฟ

ชื่อทั่วไป : กานพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry

ที่มา : ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนิเซีย จีน อินเดีย ปลูกมากในฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโมลุกกะ มาดากัสการ์ 

Scents Discription : น้อยคนจะรู้ว่า Indonesian Clove หรือ กานพลู ถือได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรในกลุ่มเครื่องเทศที่ได้มีการบันทึกการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ และยังเป็นหนึ่งในเครื่องยาที่เอามาใช้ทำมัมมี่อีกด้วย จัดได้ว่าเป็นเครื่องเทศที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในยุคของการล่าอาณานิคม สำหรับคนเอเชียจะมีการนำกานพลูมาใช้เพื่อการรักษาโรค ในขณะที่ชาวตะวันตกเลือกใช้กานพลูสำหรับการแต่งกลิ่นอาหาร มีกลิ่นหอม และให้รสชาติที่เผ็ด และสามารถนำไปทำเครื่องสำอางต่างๆ ได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็ยังมีการนำดอกตูม ต้น ผล เปลือก ใบ และน้ำมันหอมระเหยมาใช้ประโยชน์มากมาย 

กานพลูเป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ซม. ยาว 6-10 ซม. เป็นพืชที่ชื่นชอบพื้นที่อากาศชื้น ซึ่งถือเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ มีใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง  ผิวมันดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว และร่วงง่าย กลีบเลี้ยง และฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสดรูปทรงไข่ ส่วนที่นิยมอย่างมากในการนำมาทำยา และสกัดน้ำมันคือส่วนของดอกตูมที่แก่จัด ซึ่งหมอยาจะเลือกเก็บดอกแก่มาตากให้แห้งจากนั้นก็นำมาเก็บไว้ใช้ต่อไป สำหรับดอกกานพลูที่เราเห็นมีขายตามท้องตลาดนั้น โดยทั่วไปมักจะเป็นดอกกานพลูที่มีการกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกไปแล้ว กานพลู ในอดีตเป็นที่นิยมของคนเฒ่าคนแก่สมัยก่อน นิยมเคี้ยวกานพลูร่วมกับหมาก เพื่อให้มีกลิ่นหอม ส่วนที่ใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร คือ ส่วนที่เป็นดอกตูมแห้ง กานพลูใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง ซอสมะเขือเทศ ผักดอง ถ้าใส่ในพริกแกงต้องป่นก่อน เช่น แกงมัสมั่น เป็นต้น

Short Scents Discription : Indonesian Clove มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนิเซีย จีน อินเดีย ให้ความรู้สึกอบอุ่นผ่อนคลายและกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ด้วยกลิ่นหอมอบอุ่น หอมฝาดเหมือนสมุนไพรที่เจือกลิ่นผลไม้เปลือกแข็ง และดอกไม้ 

Scents Characteristics :  ให้กลิ่นหอมอบอุ่น มีกลิ่นหอมฝาดเหมือนสมุนไพรที่เจือกลิ่นผลไม้เปลือกแข็ง และดอกไม้ ให้ความรู้สึก อบอุ่นผ่อนคลาย และกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ

Scents Ideas : 
กลิ่น และผลิตภัณฑ์ : 
เกร็ดความรู้ :  ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 – 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก ในประเทศอินเดีย นิยมนำกานพลูและเครื่องเทศอื่นๆ มาปรุงผสมกับชาดำ เพื่อเสริมรสชาติให้กับชา  เรียกกันว่า Chai Tea 

Blend will with….  :

Scents Details : 
Note : B
Family : Herb & Spice
Sub- Family : Woody Oriental
Level : Gentle
Scents Type :  Wram / Woody / Spice 

Clarifying Properties : Weaknessบรรเทาอาการ : ปัญหาทางเดินหายใจ
ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในปริมาณมาก อาจทำให้ระคายเคือง

Post a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

We use cookies to give you the best experience.